วิธียับยั้งอาการตากระตุก (ข้างซ้ายหรือขวา)

ByIcoke

วิธียับยั้งอาการตากระตุก (ข้างซ้ายหรือขวา)

สาเหตุทั่วไปของอาการเปลือกตากระตุก

ตากระตุกเกิดจากอะไร – อาการเปลือกตากระตุกเป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไป ซึ่งง่ายต่อการรักษา ทุกคนควรรับรู้ถึงสาเหตุของการเกิดอาการเพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

  • ตากระตุกเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ : ถ้าหากคุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากความเครียดหรือนอนไม่หลับ อาจทำให้เกิดอาการเปลือกตากระตุก การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะสามารถช่วยบรรเทาอาการเปลือกตากระตุกได้ การสร้างตารางการนอนหลับจะเป็นประโยชน์มาก การตื่นนอนและเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกวัน จะทำให้ร่างกายเข้าใจจังหวะการนอนของคุณมากขึ้น
  • ตากระตุกเกิดจากความเครียด : นี่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการตากระตุก ความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อตึงหรือส่งผลเสียต่อระบบประสาท การควบคุมความเครียด ฝึกการหายใจ เล่นโยคะ หรือมีพื้นที่สำหรับการพักผ่อนโดยเฉพาะ สามารถช่วยบรรเทาอาการตากระตุกได้
  • อาการปวดตา : เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการเปลือกตากระตุก การปวดตาดิจิทัลเป็นอาการที่น่ากังวลมาก เพราะในปัจจุบันทุกคนมีการใช้แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนที่มากเกินไปในโลกปัจจุบัน  ดังนั้นการพักสายตาทุกๆ 20 นาที โดยมองไปยังวัตถุบางอย่างที่อยู่ห่างอย่างน้อย 20 ฟุต
  • คาเฟอีน : คาเฟอีนอาจทำให้ดวงตากระตุกเมื่อร่างกายได้รับปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไป การหยุดคาเฟอีนอย่างกระทันหัน จะทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้นควรใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ในการค่อยๆลดปริมาณคาเฟอีนลง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดหัว
  • แอลกอฮอล์ : แอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดอาการตากระตุกได้ วิธีการทดสอบว่าแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุหรือไม่ได้ด้วยการงดแอลกอฮอล์เป็นเวลาอย่างน้อยสองสัปดาห์
  • ตาแห้ง : เป็นอาการที่จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตา รวมไปถึงตากระตุกด้วย อาการตาแห้งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น การใช้ยาบางชนิด การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนเป็นประจำ รวมไปถีงการใส่คอนแทคเลนส์ การใช้ยาหยอดตาที่เหมาะสม สามารถช่วยบรรเทาอาการได้
  • การขาดสารอาหาร : การรับประทานอาหารที่ไม่ดีพอ ยาลดน้ำหนักหร ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางชนิดที่อาจทำให้เกิดอาการตากระตุกได้ เข่น แมกนีเซียม ดังนั้นถ้าทานอาหารเสริมหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการรับประทานอาหาร ก็จะทำให้สามารถบรรเทาอาการได้
  • อาการแพ้ : อาจทำให้เกิดอาการเปลือกตากระตุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการขยี้ตาเพื่อบรรเทาอาการคัน การถูจะทำให้ฮีสตามีนเข้าไปสู่เนื้อเยื่อเปลือกตา การใช้ยาหยอดตาเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้สามารถช่วยบรรเทาอาการได้

สารบัญ

  • สาเหตุทั่วไปของการเกิดหนังตากระตุก
  • ภาวะตาปิดเกร็ง
  • ภาวะหน้ากระตุกครึ่งซึก
  • ปัญหาขอตา
  • วิธีการรักษา

เปลือกตากระตุกเป็นอาการที่พบได้บ่อย จะเกิดขึ้นเมื่อเปลือกตาล่างหรือบนมีการเคลื่อนไหวหรือกระตุกเล็กน้อย โดยส่วนมากการกระตุกมักจะไม่เป็นอันตรายและไม่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น

มีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการตากระตุกซึ่งอาจทำให้เกิดความร้ายแรงมากขึ้น ภาวะเลือดออกผิดปกติ อาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติทางการแพทย์ อีกปัญหาที่ทำให้เกิดการกระตุกเรียกว่า อาการกระตุกที่ใบหน้า ปัญหาทั้งสองนี้สามารถส่งผลกระทบต่อการมองเห็น อาการกระตุกอาจทำให้เปลือกตาปิดนานขึ้นด้วย

ภาวะตาปิดเกร็ง

เป็นอาการกล้ามเนื้อบิดเกร็งเฉพาะที่ กล้ามเนื้อเปลือกตาจะหดตัวโดยไม่สมัครใจ แต่มักจะไม่กระทบกับการมองเห็น

อาการต่างๆได้แก่ การระคายเคืองตา การกระพริบตาบ่อย ถ้ามีความรุนแรงมากเปลือกตาจะปิดตัวลงเมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อ ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของอาการนี้ได้

การฉีดโบท็อกซ์เป็นอีกวิธีหนึ่งในการรักษา เป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาอื่นๆ ได้แก่ การรับประทานยา การผ่าตัด แพทย์อาจใช้วิธีการรักษามากกว่าหนึ่งวิธีเพื่อลดอาการหดเกร็ง

ภาวะหน้ากระตุกครึ่งซีก

เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อกระตุกด้วยตัวเอง โดยจะส่งผลต่อใบหน้าเพียงด้านเดียว โดยส่วนใหญ่เส้นเลือดจะกดทับเส้นประสาทบนใบหน้า แต่ก็มีหลายกรณีที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ หรือเกิดจากเนื้องอกหรือการบาดเจ็บทำให้เกิดการรัดตัว

การฉีดโบท็อกซ์สามารถใช้เพื่อรักษาอาการกระตุกบนใบหน้าได้ แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเมื่อมีอาการเส้นเลือดกดทับเส้นประสาท ซึ่งสามารถช่วยลดอาการกระตุกได้

ปัญหาตา

ในบางครั้งปัญหาจากสุขภาพของตาก็อาจทำให้เกิดอาการตากระตุกได้ เช่น :

  • เปลือกตาอักเสบ เปลือกตาจะมีลักษณะเป็นสีแดงและเจ็บ ขนตาหงิก แพทย์จะสั่งยาทา ยาหยอกตาและสครับเปลือกตา ซึ่งเป็นการรักษาโดยทั่วไป
  • ม่านตาอักเสบ จะทำให้เกิดอาการปวดตา มีความไวต่อแสง มองเห็นได้แย่ลงและตาแดง แพทย์มักใช้สเตียรอยด์เพื่อใช้ในการรักษา
  • กระจกตาถลอก : เกิดจากกระจกตาได้รับการขีดข่วน ในบางครั้งอาจเกิดการฉีกขาดได้ ทำให้ตาขาดการไวต่อแสง แสบร้อน ตาแดงและปวดศรีษะ ซึ่งควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างทันที

รับการรักษาเมื่อต้องการ

โดยทั่วไปแล้วอาการเปลือกตากระตุกไม่ใช่อาการร้ายแรง แต่ถ้าหากเกิดการกระตุกเป็นเวลานานก็สามารถถรบกวนการมองเห็นได้ หรือนำไปสู่อาการอื่นๆ ดังนั้นควรพบจักษุุแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษา

About the author

Icoke administrator

Leave a Reply